การเรียกชื่อสารประกอบธาตุคู่

การเรียกชื่อสารประกอบธาตุคู่ เป็นการฝึกเรียกชื่อสารทีง่ายที่สุดที่นักเรียนต้องรู้ (ไม่ยากครับ) และต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1) ต้อง “สารประกอบ” (คือต้องเป็นธาตุ เช่น H, C, N, O…)
2) ต้อง “ธาตุคู่” (คือต้องมีสัญลักษณ์ธาตุ 2 สัญลักษณ์มาประกบกัน เช่น HCl, HO, NO, NO2)

คำถามคือ แล้วถ้าไม่ใช่ธาตุคู่ล่ะ? เช่น H2SO4, K3[Fe9CN)6] ยังเงี้ยะ คือมีธาตุมากกว่า 2 ชนิด จะเรียก (อ่าน)ชื่อสารได้อย่างไร?????
คำตอบคือ จะต้องไปเรียนเรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอิออนิก ก็จะพอจับหลักการได้คร่าวๆ แต่ก็ไม่ได้ทุกสารครอบจักวาล เพราะสารประกอบมีมากมาย ครับ
[intense_hr title=”อโลหะ-อโลหะ(กึ่งโลหะ)” title_position=”center”]
สารประกอบธาตุคู่ กลุ่มแรก ที่เราจะฝึกเรียกชื่อนี้ ต้องเป็น อโลหะกับอโลหะ หรือ อโลหะกับกึ่งโลหะ ครับ (พวกโลหะต่างๆยังไม่เกี่ยว)

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ธาตุไหนเป็น โลหะ ธาตุไหนเป็น เป็นอโลหะ และธาตุไหนเป็นกึ่งโลหะ ซึ่งก็ง่ายมากครับ ขอให้นักเรียนดูตารางนี้เลย (ท่องให้ขึ้นใจด้วย)
[intense_alert color=”success” shadow=”2″]
ธาตุที่เป็นอโลหะ – H  C  N  P  O  S  F  Cl  Br  I (ตัวไอ)
ธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ – B  Si
นอกนั้น เป็น โลหะ
[/intense_alert]
นักเรียนต้องอ่านได้แล้ว ว่าสัญลักษณ์แต่ละตัวว่าอ่านว่าอย่างไร หากยังไม่แม่น ให้กลับไปท่องใหม่ (Click)

สมมุติ มีสารประกอบ AB (เราพบว่า A กับ B เป็น อโลหะทั้งคู่ หรือ ตัวหนึ่งเป็นอโลหะ อีกตัวเป็นกึ่งโลหะ) ให้ใช้หลักการดังนี้
1) ให้เราเรียกชื่อธาตุแรกตามด้วยธาตุหลัง
2) ธาตุตัวหลัง ให้เปลี่ยนท้ายเสียงเป็น -ไอด์ (-ide)

เช่น สารประกอบ HF
พอเราเห็นปุ๊บเราตอบในใจได้เลย
– เป็นสารประกอบ (เพราะมีธาตุ H กับ F ประกอบกัน)
– เป็นธาตุคู่ (มีแค่สองธาตุ คือ H กับ F)
– H เป็น อโลหะ และ F ก็เป็นอโลหะ
เข้าหลักการเรียกชื่อนี่ทุกอย่าง
H – ไฮโดรเจน
F – ฟลูออรีน (เปลี่ยนเป็นฟลูออไรด์)
HF จึงอ่านว่า ไฮโดรเจนฟูออไรด์

ตัวอย่างเพิ่มเติม
HCl – ไฮโดรเจนคลอไรด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากคลอลีน เป็น คลอไรด์)
HBr – ไฮโดรเจนโบรไมด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากโบรมีน เป็น โบรไมด์)
HI – ไฮโดรเจนไอโอไดด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากไอโอดีน เป็น ไอโอไดด์)

[intense_alert color=”success” shadow=”2″]หลักการเปลี่ยนเสียงเป็น -ไอด์ มีดังนี้
[intense_row]
[intense_column size=”4″]
ออกซิเจนเป็นออกไซด์
ซัลเฟอร์เป็นซัลไฟด์
ฟลูออรีนเป็นฟลูออไรด์
คลอรีนเป็นคลอไรด์
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
โบรมีนเป็นโบรไมด์
คาร์บอนเป็นคาร์ไบด์
ไอโอดีนเป็นไอโอไดด์
ไนโตรเจนเป็นไนไตรด์
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
ฟอสฟอรัสเป็นฟอสไฟด์
ไฮโดรเจนเป็นไฮไดรด์
[/intense_column]
[/intense_row]
[/intense_alert]

พอเข้าใจแล้วนะครับ….

 

แต่ถ้าเราไปเจอสารประกอบธาตุคู่ที่อยู่ในรูป AXBY ล่ะ?..
ไอ้ตัวที่ห้อยๆ (จะเป็นตัวเลข) จะเรียกว่า เลขแสดงอะตอมของธาตุ เวลาเรียกชื่อ เราต้องบอกเลขจำนวนด้วย ซึ่งหลักการบอกเลขแสดงจำนวนอะตอม มีดังนี้
[intense_alert color=”success” shadow=”2″]การบอกเลขแสดงจำนวนอะตอม
[intense_row]
[intense_column size=”4″]
1 = มอนอ (mono)
2 = ได (di)
3 = ไตร (tri)
4 = เตตระ (tetra)
5 = เพนตะ (penta)
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
6 = เฮกซะ (hexa)
7 = เฮปตะ (hepta)
8 = ออกตะ (octa)
9 = โนนะ (nona)
10 = เดคะ (deca)
[/intense_column]
[/intense_row]
[/intense_alert]
เวลาอ่าน เราจะใส่เลขแสดงจำนวน (โมโน ได ไตร…)ไว้หน้าธาตุตัวหน้าและตัวหลัง กรณีไม่มีตัวห้อยให้ถือว่าเป็น 1 เสมอ (ต้องอ่านโมโน) แต่ โดยปกติ ธาตุที่มีเพียงอะตอมเดียว เราจะไม่บอกจำนวนอะตอม (คือจะละคำว่า “โมโน”)

ตัวอย่าง
CCl4 – คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (ไม่อ่าน โมโนคาร์บอนเตตระคลอไรด์)
SO2 – ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ไม่อ่าน โมโนซัลเฟอร์ไดออกไซด์)
SO3 – ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (ไม่อ่าน โมโนซัลเฟอร์ไตรออกไซด์)
HF – ไฮโดรเจนฟูออไรด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนฟูออไรด์)
HCl – ไฮโดรเจนคลอไรด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนคลอไรด์)
HBr – ไฮโดรเจนโบรไมด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนโบรไมด์)
HI – ไฮโดรเจนไอโอไดด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนไอโอไดด์)
N2O5 – ไดโนโตรเจนเพนตะออกไซด์
SO2 – ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
SO3 – ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
SiO2 – ซิลิกอนไดออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
CS2 –  คาร์บอนไดซัลไฟด์ (ละคำว่าโมโน)
SF6 – ซัลเฟอ์เฮกซะฟลูออไรด์ (ละคำว่าโมโน)
PCl5 – ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (ละคำว่าโมโน)
BF3 – โบรอนไตรฟลูออไรด์ (ละคำว่าโมโน)
CO – คาร์บอนมอนนอกไซด์
CO2 – คาร์บอนไดออกไซด์
H2S – ไฮโดรเจนซัลไฟด์
N2O – ไดโนโตรเจนมอนอกไซด์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ธาตุที่ต้องรู้ขั้นต้น

พื้นฐานของวิชาเคมีคือ ธาตุ ซึ่งผู้เขียนอยากให้นักเรียนท่องให้ขึ้นใจครับ อดทนนิดครับ ไม่ยากหรอก ท่องมันดื้อๆนี่แหละ ธาตุมีอยู่เป็นร้อยๆ ผู้เขียนเลือกให้จำเฉพาะตัวที่จำเป็นเท่านั้นครับ

เวลาท่อง ขอให้ท่องเป็นกลุ่มตามที่จัดไว้ให้ ท่องให้ได้ทั้งสัญลักษณ์ ชื่อไทย ชื่ออังกฤษ ท่องเรียงตามลำดับ (อย่าสลับอันดับ) ส่วนเลข หนึ่ง สอง สาม… ที่ให้ท่องแทรกระหว่างชื่อธาตุ ก็คือหมู่ (นักเรียนที่ยังไม่รู้ว่าหมู่ ว่าคาบคอออะไร ก็ไม่ต้องสนใจ ตอนนี้ขอให้ท่อง ชื่อ สัญลักษณ์ ลำดับให้ถูกต้องก็พอ และตัวที่เน้นตัวหนา (แดง) เอาไว้เป็นหลักในการจำ ไม่ใช่ Stress (เหมือนใน Dictionary) แต่อย่างใด

เรามาเริ่มด้วยธาตุพื้นฐาน ที่ต้องท่องให้ได้ (ย้ำว่า “ต้องท่องให้ได้”)

H ไฮโดรเจน Hydrogen
Li ลิเทียม Lithium
Na โซเดียม Sodium
K โพแทสเซียม Potassium
Rb รูบิเดียม Rubidium
Cs ซิเซียม Cesium
Fr แฟรนเซียม Francium
** ให้จำว่า ไฮ..หนึ่ง.. ลิ..หนึ่ง.. นาโซ..หนึ่ง.. เคโพ..หนึ่ง.. รูบิ..หนึ่ง.. ซิ..หนึ่ง.. แฟรน..หนึ่ง..

ที่ให้จำแบบนี้เพราะ ลิ (เราจะเขียน Li), นาโซ (เราจะเขียน Na และจำได้ว่าคือโซ ก็คือ โซเดียม), เคโพ (เราจะเขียน K และรู้ว่า โพ ก็คือ โพแทสเซียม), รูบิ (คือ รอบอ ก็คือ Rb มาจาก รูบิเดียม). ซิ (ซีเซียม Cs) และสุดท้าย แฟรน (เราก็จะเขียน Fr)

สมัยผู้เขียนเรียนเคมีใหม่ๆ ก็ท่อง ลินาคารูซิฟา แต่ก็มักจะเผลอจำไม่ได้ว่า ไอ้นา (Na) เนื่ย มันคืออะไร แล้ว คา นี่มันคือ Ca หรือ K หว่า แลัวมันคืออะไร (สมัยนั้นชอบจำผิดว่าเค คือ ฟอสฟอรัสประจำ) พอจำแบบนี้ แม้ว่ายาวและช้าหน่อยแต่ก็จำไม่ผิด

เอาละครับ ต่อมาให้จำเป็นชุดๆ ดังนี้ครับ

Be เบริลเลียม Beryllium
Mg แมกนีเซียม Magnesium
Ca แคลเซียม Calcium
Sr สทรอนเทียม Strontium
Ba แบเรียม Barium
Ra เรเดียม Radium
** ให้จำว่า เบ..สอง.. แมก..สอง.. คา..สอง.. สทรอน..สอง.. บาแบ..สอง.. ราแร..สอง..

B โบอน Boron
Al อะลูมิเนียม Aluminum
** ให้จำว่า บีโบ..สาม..อะ..สาม..

C คาร์บอน Carbon
Si ซีลีคอน Silicon
Ge เจอร์เมเนียม Germanium
Sn ดีบุก Tin
Pb ตะกั่ว Lead
** ให้จำว่า ซีคา..สี่.. ซิซี..สี่.. เจอร์..สี่.. เอสเอ็นทินดีบุก..สี่.. พีบีตะกั่วเล้ท..สี่..

N ไนโตรเจน Nitrogen
P ฟอสฟอรัส Phosphorus
As สารหนู Arsenic
Sb พลวง Antimony
Bi บิสมัท Bismuth
** ให้จำว่า ไน..ห้า.. พีฟอส..ห้า.. อาส..ห้า.. เอสบีพลวง..ห้า.. บิ..ห้า..

O ออกซิเจน Oxygen
S กำมะถัน Sulfur
Se ซิลิเนียม Selenium
** ให้จำว่า อ๊อก..หก.. ซัล..หก.. ซี..หก.. 

F ฟลูออรีน Fluorine
Cl คลอรีน Chlorine
Br โบรมีน Bromine
I ไอโอดีน Iodine
At แอสทาทีน Astatine
** ให้จำว่า ฟลู..เจ็ด.. คลอ..เจ็ด..โบร ..เจ็ด.. ไอ..เจ็ด.. แอท..เจ็ด..

He ฮีเลียม Helium
Ne นีออน Neon
Ar อาร์กอน Argon
Kr คริปทอน Krypton
Xe ซีนอน Xenon
Rn เรดอน Radon
** ให้จำว่า ฮี..แปด.. นี..แปด.. อาร์..แปด.. คริ..แปด.. ซี..แปด.. เรน..แปด.. 

ในขั้นต้นผู้เขียนขอให้นักเรียนท่องให้ได้ทุกตัวนะครับ สำคัญมากๆ เพราะช่วงม.ปลาย นักเรียนจะเจอธาตุเหล่านี้ตลอด หากท่องได้แล้วเชื่อว่านักเรียนได้เริ่มต้นได้ดีพอควร (แค่พอควร) แต่ถ้านักเรียนอยากให้พิ้นฐานแน่นขึ้นมาอีกระดับ ก็ขอให้ท่อง ธาตุเพิ่มเติมอีกนิดครับ

Sc สแกนเดียม Scandium
Ti ไทเทเนียม Titanium
V วาเนเดียม Vanadium
Cr โครเมียม Chromium
Mn แมงกานีส Manganese
Fe เหล็ก Iron
Co โคบอลท์ Cobalt
Ni นิกิล Nickel
Cu ทองแดง Copper
Zn สังกะสี Zinc
** ให้จำว่า สแกน..สี่.. ไท..สี่.. วาร์..สี่.. โคร..สี่.. แมง..สี่.. ฟีไอเอิ้น..สี่.. โค..สี่.. นิ..สี่.. คูคอป..สี่.. ซิงค์..สี่..

Y อิตเทรียม Yttrium
Zr เซอร์โคเนียม Zirconium
Nb ไนโอเบียม Niobium
Mo โมลิบดีนัม Molybdenum
Tc เทคนิเซียม Technetium
Ru รูทีเนียม Ruthenium
Rh โรเดียม Rhodium
Pd แพลเลเดียม Palladium
Ag เงิน Silver
Cd แคดเมียม Cadmium
** ให้จำว่า วายอิต..ห้า. ซเลอร์เซอร์..ห้า. เอ็นบีไนโอ..ห้า. โม..ห้า. เทค..ห้า. อาร์ยูรูที..ห้า. อาร์เอสโร..ห้า. แพดแพลเล..ห้า. เอจีซิลเวอร์..ห้า.. แคด..ห้า.

Hf แฮฟนียม Hafnium
Ta แทนทาลัม Tantalum
W ทันสเตน Tungsten
Re ริเนียม Rhenium
Os ออสเมียม Osmium
Ir อิริเดียม Iridium
Pt แพลทินัม Platinum
Au ทองคำ Gold
Hg ปรอท Mercury
** ให้จำว่า แฮฟ..หก.. แทน..หก.. ดับบลิวทัน..หก.. ริ..หก.. ออส..หก.. อิริ..หก.. แพลทิ..หก.. เอยูทอง..หก.. เอชจีเมอร์..หก..

เราจะรู้สึกว่า ไอ้สามกลุ่มหลัง ทำไมมันยาวจังวะ นั่นก็เพราะเป็นกลุ่มทรานซิชั่น และเรียงตามคาบ ไม่ได้ตามกลุ่ม บังเอิญคาบนั้นมันยาว เลยมีหลายตัว (คนที่เพิ่งมาเรียนเคมีก็ไม่ต้องสนใจครับ หมั่นท่องไปดื้อๆเลย)

ผู้เขียนพบว่าปัจจุบันมีหลายที่ ในโลกออนไลน์หาวิธีจำธาตุต่างๆ เหล่านี้ เช่น แต่งเป็นเพลงบ้าง แต่เป็นประโยคบ้าง แต่ผู้เขียนขอยกบางคลิปมาให้บางส่วน (เพราะเชื่อว่าผู้อ่านคงหาคลิปวิดิโอต่างๆเองได้ไม่ยาก)

[cleveryoutube video=”fsEnvTaC8p4″ style=”1″ pic=”https://www.chem456.com/wp-content/uploads/2017/08/ธาตุในตารางธาตุ.jpg” alignment=”center”]

***หมายเหตุ: ในคลิป พูดถึงเรื่องตารางธาตุ และแบบฝึกหัด ซึ่งหากผู้อ่านเริ่มเรียนเคมี ก็ดูผ่านๆ หรือไม่ดูเลย ก็ได้ครับ

    • ไฮ..หนึ่ง.. ลิ..หนึ่ง.. นาโซ..หนึ่ง.. เคโพ..หนึ่ง.. รูบิ..หนึ่ง.. ซิ..หนึ่ง.. แฟรน..หนึ่ง..

    • เบ..สอง.. แมก..สอง.. คา..สอง.. สทรอน..สอง.. บาแบ..สอง.. ราแร..สอง..

    • บีโบ..สาม.. อะ..สาม..

    • ซีคา..สี่.. ซิซี..สี่.. เจอร์..สี่.. เอสเอ็นทินดีบุก..สี่.. พีบีตะกั่วเล้ท..สี่..

    • ไน..ห้า.. พีฟอส..ห้า.. อาส..ห้า.. เอสบีพลวง..ห้า.. บิ..ห้า..

    • อ๊อก..หก.. ซัล..หก.. ซี..หก..

    • ฟลู..เจ็ด.. คลอ..เจ็ด.. โบร ..เจ็ด.. ไอ..เจ็ด.. แอท..เจ็ด..

    • ฮี..แปด.. นี..แปด.. อาร์..แปด.. คริ..แปด.. ซี..แปด.. เรน..แปด..

    • สแกน..สี่.. ไท..สี่.. วาร์..สี่.. โคร..สี่.. แมง..สี่.. ฟีไอเอิ้น..สี่.. โค..สี่.. นิ..สี่.. คูคอป..สี่.. ซิงค์..สี่..

    • วายอิต..ห้า. ซเลอร์เซอร์..ห้า. เอ็นบีไนโอ..ห้า. โม..ห้า. เทค..ห้า. อาร์ยูรูที..ห้า. อาร์เอสโร..ห้า. แพดแพลเล..ห้า. เอจีซิลเวอร์..ห้า.. แคด..ห้า.

    • แฮฟ..หก.. แทน..หก.. ดับบลิวทัน..หก.. ริ..หก.. ออส..หก.. อิริ..หก.. แพลทิ..หก.. เอยูทอง..หก.. เอชจีเมอร์..หก..