การเรียกชื่อสารประกอบธาตุคู่

การเรียกชื่อสารประกอบธาตุคู่ เป็นการฝึกเรียกชื่อสารทีง่ายที่สุดที่นักเรียนต้องรู้ (ไม่ยากครับ) และต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1) ต้อง “สารประกอบ” (คือต้องเป็นธาตุ เช่น H, C, N, O…)
2) ต้อง “ธาตุคู่” (คือต้องมีสัญลักษณ์ธาตุ 2 สัญลักษณ์มาประกบกัน เช่น HCl, HO, NO, NO2)

คำถามคือ แล้วถ้าไม่ใช่ธาตุคู่ล่ะ? เช่น H2SO4, K3[Fe9CN)6] ยังเงี้ยะ คือมีธาตุมากกว่า 2 ชนิด จะเรียก (อ่าน)ชื่อสารได้อย่างไร?????
คำตอบคือ จะต้องไปเรียนเรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบอิออนิก ก็จะพอจับหลักการได้คร่าวๆ แต่ก็ไม่ได้ทุกสารครอบจักวาล เพราะสารประกอบมีมากมาย ครับ
[intense_hr title=”อโลหะ-อโลหะ(กึ่งโลหะ)” title_position=”center”]
สารประกอบธาตุคู่ กลุ่มแรก ที่เราจะฝึกเรียกชื่อนี้ ต้องเป็น อโลหะกับอโลหะ หรือ อโลหะกับกึ่งโลหะ ครับ (พวกโลหะต่างๆยังไม่เกี่ยว)

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ธาตุไหนเป็น โลหะ ธาตุไหนเป็น เป็นอโลหะ และธาตุไหนเป็นกึ่งโลหะ ซึ่งก็ง่ายมากครับ ขอให้นักเรียนดูตารางนี้เลย (ท่องให้ขึ้นใจด้วย)
[intense_alert color=”success” shadow=”2″]
ธาตุที่เป็นอโลหะ – H  C  N  P  O  S  F  Cl  Br  I (ตัวไอ)
ธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ – B  Si
นอกนั้น เป็น โลหะ
[/intense_alert]
นักเรียนต้องอ่านได้แล้ว ว่าสัญลักษณ์แต่ละตัวว่าอ่านว่าอย่างไร หากยังไม่แม่น ให้กลับไปท่องใหม่ (Click)

สมมุติ มีสารประกอบ AB (เราพบว่า A กับ B เป็น อโลหะทั้งคู่ หรือ ตัวหนึ่งเป็นอโลหะ อีกตัวเป็นกึ่งโลหะ) ให้ใช้หลักการดังนี้
1) ให้เราเรียกชื่อธาตุแรกตามด้วยธาตุหลัง
2) ธาตุตัวหลัง ให้เปลี่ยนท้ายเสียงเป็น -ไอด์ (-ide)

เช่น สารประกอบ HF
พอเราเห็นปุ๊บเราตอบในใจได้เลย
– เป็นสารประกอบ (เพราะมีธาตุ H กับ F ประกอบกัน)
– เป็นธาตุคู่ (มีแค่สองธาตุ คือ H กับ F)
– H เป็น อโลหะ และ F ก็เป็นอโลหะ
เข้าหลักการเรียกชื่อนี่ทุกอย่าง
H – ไฮโดรเจน
F – ฟลูออรีน (เปลี่ยนเป็นฟลูออไรด์)
HF จึงอ่านว่า ไฮโดรเจนฟูออไรด์

ตัวอย่างเพิ่มเติม
HCl – ไฮโดรเจนคลอไรด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากคลอลีน เป็น คลอไรด์)
HBr – ไฮโดรเจนโบรไมด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากโบรมีน เป็น โบรไมด์)
HI – ไฮโดรเจนไอโอไดด์ (สังเกตว่า ตัวหลังจะเปลี่ยนจากไอโอดีน เป็น ไอโอไดด์)

[intense_alert color=”success” shadow=”2″]หลักการเปลี่ยนเสียงเป็น -ไอด์ มีดังนี้
[intense_row]
[intense_column size=”4″]
ออกซิเจนเป็นออกไซด์
ซัลเฟอร์เป็นซัลไฟด์
ฟลูออรีนเป็นฟลูออไรด์
คลอรีนเป็นคลอไรด์
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
โบรมีนเป็นโบรไมด์
คาร์บอนเป็นคาร์ไบด์
ไอโอดีนเป็นไอโอไดด์
ไนโตรเจนเป็นไนไตรด์
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
ฟอสฟอรัสเป็นฟอสไฟด์
ไฮโดรเจนเป็นไฮไดรด์
[/intense_column]
[/intense_row]
[/intense_alert]

พอเข้าใจแล้วนะครับ….

 

แต่ถ้าเราไปเจอสารประกอบธาตุคู่ที่อยู่ในรูป AXBY ล่ะ?..
ไอ้ตัวที่ห้อยๆ (จะเป็นตัวเลข) จะเรียกว่า เลขแสดงอะตอมของธาตุ เวลาเรียกชื่อ เราต้องบอกเลขจำนวนด้วย ซึ่งหลักการบอกเลขแสดงจำนวนอะตอม มีดังนี้
[intense_alert color=”success” shadow=”2″]การบอกเลขแสดงจำนวนอะตอม
[intense_row]
[intense_column size=”4″]
1 = มอนอ (mono)
2 = ได (di)
3 = ไตร (tri)
4 = เตตระ (tetra)
5 = เพนตะ (penta)
[/intense_column]
[intense_column size=”4″]
6 = เฮกซะ (hexa)
7 = เฮปตะ (hepta)
8 = ออกตะ (octa)
9 = โนนะ (nona)
10 = เดคะ (deca)
[/intense_column]
[/intense_row]
[/intense_alert]
เวลาอ่าน เราจะใส่เลขแสดงจำนวน (โมโน ได ไตร…)ไว้หน้าธาตุตัวหน้าและตัวหลัง กรณีไม่มีตัวห้อยให้ถือว่าเป็น 1 เสมอ (ต้องอ่านโมโน) แต่ โดยปกติ ธาตุที่มีเพียงอะตอมเดียว เราจะไม่บอกจำนวนอะตอม (คือจะละคำว่า “โมโน”)

ตัวอย่าง
CCl4 – คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (ไม่อ่าน โมโนคาร์บอนเตตระคลอไรด์)
SO2 – ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ไม่อ่าน โมโนซัลเฟอร์ไดออกไซด์)
SO3 – ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (ไม่อ่าน โมโนซัลเฟอร์ไตรออกไซด์)
HF – ไฮโดรเจนฟูออไรด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนฟูออไรด์)
HCl – ไฮโดรเจนคลอไรด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนคลอไรด์)
HBr – ไฮโดรเจนโบรไมด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนโบรไมด์)
HI – ไฮโดรเจนไอโอไดด์ (ไม่อ่าน โมโนไฮโดรเจนโมโนไอโอไดด์)
N2O5 – ไดโนโตรเจนเพนตะออกไซด์
SO2 – ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
SO3 – ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
SiO2 – ซิลิกอนไดออกไซด์ (ละคำว่าโมโน)
CS2 –  คาร์บอนไดซัลไฟด์ (ละคำว่าโมโน)
SF6 – ซัลเฟอ์เฮกซะฟลูออไรด์ (ละคำว่าโมโน)
PCl5 – ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (ละคำว่าโมโน)
BF3 – โบรอนไตรฟลูออไรด์ (ละคำว่าโมโน)
CO – คาร์บอนมอนนอกไซด์
CO2 – คาร์บอนไดออกไซด์
H2S – ไฮโดรเจนซัลไฟด์
N2O – ไดโนโตรเจนมอนอกไซด์